การใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคะแนนการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติในการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคะแนนการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติในการจัดการเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน ที่ทดลองใช้ชิ้นงานและรูบริกเพื่อประเมินการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติ กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ที่เรียนรายวิชาความน่าจะเป็นและสถิติ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยคือ 1) ชุดของชิ้นงานการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติ ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา 6 ชิ้น และสถิติเชิงอ้างอิง 5 ชิ้น 2) รูบริกการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติแบบองค์รวม 1 ชุด และ 3) แบบบันทึกคะแนนการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติ ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง 4 กรณี ตามรูปแบบ p x t และ p x (r : t)
ผลการศึกษา พบว่า การใช้ชิ้นงานและรูบริกที่พัฒนาขึ้น ประเมินการรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติ ให้มีสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .800 ต้องใช้ชิ้นงาน 4 ชิ้น และใช้ผู้ประเมิน 5 คน ประกอบด้วยผู้สอน 1 คน และนักศึกษา 4 คน นอกจากนี้ยังพบว่า การให้นักศึกษาประเมินตนเอง ทำให้สัมประสิทธิ์ความเที่ยงมีค่าต่ำ ซึ่งเกิดจากความลำเอียงในการประเมินของนักศึกษา
คำสำคัญ: ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, การรู้เรื่องและการให้เหตุผลทางสถิติ, การจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน
Using Generalizability Theory to Determine
the Dependability Statistical Literacy and Reasoning Score in Research-Based Learning
Abstract
The purposes of this study were to use the generalizability theory examine the dependability of statistical literacy and reasoning scores. This study obtained from the experiment by using the statistical literacy and reasoning tasks and rubrics in the research-based learning. There were the experiment of the tasks and rubrics to assess statistical literacy and reasoning with the first-year students in mathematics, Loei Rajabhat University. The 30 first-year students, majored in Mathematics, who study the Probability and Statistics course, in the second semester of the academic year 2019. The samples were recruited by cluster sampling method. The experiment was taken for 12 weeks. The research instruments included 1) a set of statistical literacy and reasoning tasks for descriptive statistics six pieces and inferential statistics five pieces, and the statistical literacy and reasoning holistic rubrics, 2) the data entry form was used to document statistical literacy and reasoning scores of students. The statistics used to analyze data included descriptive statistics and the generalizability theory for analyzing the two models with four cases for the p x t and p x (r : t) designs to ascertain the reliability of statistical literacy and reasoning scores.
The results showed that, the experiment was found that the use of tasks and rubrics developed to assess statistical literacy and reasoning was at .8 of reliability coefficient. It required 4 pieces of tasks and 5 assessors, consisting of 1 instructor and 4 peers. The study also found that student’s self-assessments was low in reliability coefficients, caused by student-self bias.
Keywords: skills, creative communication, student teachers
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
Copyright (c) 2022 Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University
วารสารวิธีวิทยาการวิจัย
ISSN 0857-2933
ISSN 2697-4835 (Online)
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
254 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Journal of Research Methodology (JRM)
ISSN 0857-2933
ISSN 2697-4835 (Online)
Department of Educational Research and Psychology,
Faculty of Education, Chulalongkorn University
Phaya Thai Road, Patumwan, Bangkok 10330
jrm[at]chula.ac.th