การศึกษาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาครู
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและองค์ประกอบของทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ครูที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จำนวน 9 คน อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้วิชาชีพครู การจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การนิเทศนักศึกษาฝึกประบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 6 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) การสร้างสัมพันธภาพที่ดี 2) การฟังอย่างอย่างตั้งใจ 3) การสะท้อนคิด 4) การเสริมกำลังใจ และ 5) การสร้างแรงบันดาลใจ ดังนั้นองค์ประกอบของการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำมากำหนด
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักศึกษาครูให้มีทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในการ
จัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
คำสำคัญ: ทักษะ, การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์, นักศึกษาครู
Abstract
This research aims to address the component of creative communication skills for student teachers
by using the qualitative methodology to follow the in-depth interview model of nine teachers who won
the Princess Maha Chakri Award and six professors in higher education institutions who have high experience in learning management, school integrated learning, and coaching student teachers.
The purposive sampling technique is applied to analyze the content, which indicates that the creative communication skills for student teachers have five elements; 1) creating a good relationship, 2) active listening, 3) reflective thinking, 4) encouraging, and 5) inspiring. Therefore, the composition of creative communication skills for student teachers is developed to determine the learning expectations and generate guidelines to enhance the creative communication skills for student teachers to manage
the well-studied environment.
Keywords: skills, creative communication, student teachers
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
Copyright (c) 2022 Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University
วารสารวิธีวิทยาการวิจัย
ISSN 0857-2933
ISSN 2697-4835 (Online)
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
254 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Journal of Research Methodology (JRM)
ISSN 0857-2933
ISSN 2697-4835 (Online)
Department of Educational Research and Psychology,
Faculty of Education, Chulalongkorn University
Phaya Thai Road, Patumwan, Bangkok 10330
jrm[at]chula.ac.th