แนวทางการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อการมีงานทำ
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อการมีงานทำ 2) เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจในการบริหารจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อการมีงานทำ และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อการมีงานทำโดยใช้เทคนิคดุลยภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ผู้สอน/ครูการศึกษาพิเศษ ผู้ปกครองของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และผู้ประกอบการที่รับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษเข้าทำงาน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 5 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัย พบว่า สถานศึกษาอาชีวศึกษาแต่ละแห่งมีสภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการที่แตกต่างกันในด้านประเภทสถานศึกษา ด้านพันธกิจ และด้านนโยบายของสถานศึกษา ปัญหาในการบริหารจัดการ ได้แก่
การปรับตัวของผู้เรียน ขาดครูล่ามและครูการศึกษาพิเศษ ขาดงบประมาณและแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากภายนอก ขาดความร่วมมือกับสถานประกอบการ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และขาดการจัดการเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการสถานศึกษาในระดับมากทั้ง 4 มุมมอง
อันได้แก่ มุมมองด้านการเงิน มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา มุมมองด้านกระบวนการภายใน และมุมมองด้านลูกค้า/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนแนวทางการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการส่งเสริมผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเพื่อการมีงานทำโดยใช้เทคนิคดุลยภาพ ประกอบด้วย 4 มุมมอง ดังนี้ 1) มุมมองด้านการเงิน (3 จัด) 2) มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา (3 พัฒนา) 3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (5 สร้าง) และ 4) มุมมองด้านลูกค้า/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3 ส่งเสริม)
คำสำคัญ: แนวทางการบริหารจัดการ, ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา, ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ, การส่งเสริมการมีงานทำ
Abstract
The objectives of this research were 1) to study the current situation and problems, 2) to analyze the satisfaction, and 3) to develop a management guideline for vocational education institution administrators on the employment promotion of students with special needs by using Balance Scorecard. The sample group were purposive sampling of 5 vocational institutions composed of one person each of the administrators, teachers/special education teachers, parents of students with special needs and entrepreneurs who accept students with special needs to work, which totally are 20. The research instruments were structured interview and satisfaction questionnaire. Data were analyzed by content analysis and statistical analyzed by mean.
The research showed that each vocational education institution has different current situation in types of educational institutions, missions and policies of educational institutions. Problems in management include learner adaptation, lack of translators and special education teachers, lack of budget and external funding sources, lack of cooperation with enterprises, unsuitable environment and lack of technology management that facilitates teaching and learning. The respondents were satisfied with the management at high level in all 4 aspects such as financial, learning and growth, internal process, and customer/stakeholder. Management guidelines for vocational education institution administrators on the employment promotion of students with special needs by using Balance Scorecard consisted of
4 aspects as follows: 1) Financial Perspective (3-Arrangement) 2) Learning and Growth Perspective
(3-Development), 3) Internal Process Perspective (5-Create), and 4) Customer/Stakeholder Perspective (3-Promote).
Keywords: management guidelines, vocational education institution administrators, students with special needs, employment promotion
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
Copyright (c) 2022 Department of Educational Research and Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University
วารสารวิธีวิทยาการวิจัย
ISSN 0857-2933
ISSN 2697-4835 (Online)
ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
254 ถ.พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Journal of Research Methodology (JRM)
ISSN 0857-2933
ISSN 2697-4835 (Online)
Department of Educational Research and Psychology,
Faculty of Education, Chulalongkorn University
Phaya Thai Road, Patumwan, Bangkok 10330
jrm[at]chula.ac.th